Kotchasan PHP Framework

การแก้ไขข้อความต่างๆ ตลอดจนภาษา ที่ใช้แสดงผลบนเว็บไซต์

การแก้ไขข้อความต่างๆ ตลอดจนภาษา ที่ใช้แสดงผลบนเว็บไซต์ มีข้อกำหนดดังนี้
  • ไฟล์ภาษาทั้งหมดเก็บอยู่ที่ โฟลเดอร์ language/ แยกตามภาษา
  • ไฟล์ภาษา นามสกุล PHP ถูกใช้กับ PHP เป็นหลัก รวมถึงข้อความเตือน ที่เป็น Javascript
  • ไฟล์ภาษา นามสกุล JS ใช้กับ Javascript เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็น core ของ Kotchasan เอง ไม่แนะนำให้แก้ไข
  • ในกรณีที่ใช้แอปพลิเคชั่นที่ผมสร้าง จะมีหน้าสำหรับจัดการภาษาโดยเฉพาะ อยู่ในเมนู ตั้งค่า => ภาษา ซึ่งเริ่มต้นจะไม่มีข้อมูลใดๆ จะต้องสั่ง นำเข้า ภาษา ก่อน หลังจากนำเข้าแล้ว จะสามารถค้นหา หรือแก้ไขภาษา ได้ง่ายๆ บนเว็บไซต์
  • ระบบภาษาของ Kotchasan ใช้วิธีนำข้อความภาษาแต่ละคำมาต่อกันเป็นประโยค (ในบางประโยค) ดังนั้นการแก้ไขภาษาที่แต่ละคำ อาจทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยน ควรระมัดระวังด้วย
  • ระบบภาษาของ Kotchasan ใช้คำในภาษาอังกฤษเป็นคีย์หลัก หากเป็นการแสดงผลภาษาอังกฤษ อาจจะไม่ถูกแปล โดยใช้คีย์เป็นข้อความในภาษาอังกฤษเลย ซึ่งหากต้องการให้ข้อความที่แสดงผลในภาษาอังกฤษแตกต่างจากคีย์ ให้ระบุตัวแปรในภาษาอังกฤษด้วย ในกรณีที่นำเข้าภาษาไปยังระบบแล้วจะเห็นว่า ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีข้อความในช่องภาษาอังกฤษ เนื่องจากข้อความในภาษาอังกฤษตรงกับคีย์อยู่แล้ว หากต้องการเปลี่ยนข้อความในภาษาอังกฤษ ให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในช่องภาษาอังกฤษ แล้วกดบันทึก
  • ในกรณีที่ต้องการเพิ่มหรือลดภาษาที่ต้องการใช้งาน สามารถลบไฟล์ออก หรือ ทำการสำเนาไฟล์ในภาษาไทยออกมาเป็นภาษาที่ต้องการ แล้วทำการแปลข้อความภาษาไทยให้เป็นข้อความในภาษาที่ต้องการ แล้ว สั่งนำเข้าข้อมูลใหม่ได้
  • ตัวแปรภาษาที่เป็นแอเรย์ ให้ระมัดระวังการแก้ไข เนื่องจากตัวแปรประเภทนี้มันจะถูกใช้ร่วมกับการทำงานของโปรแกรม การแก้ไขคีย์ หรือการ เพิ่ม-ลด ตัวแปร อาจมีผลกับการทำงานของเว็บไซต์ ให้แก้ไขด้วยความระมัดระวัง แต่ส่วนใหญ่แล้ว ข้อความในภาษาต่างๆ จะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ ยกเว้นคีย์ของแต่ละรายการที่ควรระมัดระวัง (รวมถึงการย้าย หรือจัดลำดับของแต่ละรายการ อาจมีผลต่อการแสดงผล หรือการใช้งานด้วย)
วิธีการใช้งานภาษา หลักๆ จะมีสองวิธี
  • ใช้ฟังก์ชั่นภาษา จะอาศัยฟังก์ชั่น ของคลาส Language ในการแปลภาษา จากคีย์ ในภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เว็บไซต์ใช้งานอยู่ตามที่มีในไฟล์ภาษา หากไม่พบหรือเป็นภาษาอังกฤษ จะคืนค่าคีย์ในภาษาอังกฤษกลับมา
  • ใช้ตัวแปรภาษาใน Template โดยอยู่ภายใต้คีย์เวิร์ด {LNG_XXXX} โดยที่ XXXX คือข้อความที่ต้องการแปลในภาษาอังกฤษ

คำแนะนำในการแก้ไขข้อความที่แสดงผลบนเว็บไซต์
  • ข้อความภาษาส่วนใหญ่ จะอยู่ใน Template การแก้ไขสามารถค้นหาข้อความที่ต้องการแก้ไขในภาษาอังกฤษ ที่อยู่ภายใต้ตัวแปรภาษา {LNG_XXXX} จะเห็นว่าตัวแปรภาษานี้ถูกใช้ที่ไหนบ้าง ซึ่งการแก้ไขคำแปลภาษาอื่นๆในฐานข้อมูล จะมีผลกระทบไปยังตัวแปรทุกตัวที่ใช้ข้อความภาษาเดียวกัน ซึ่งข้อควรระวังคือ อาจทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยน
  • ในกรณีที่ จำเป็นต้องแก้ไข และ ต้องการหลีกเลี่ยงผลกระทบ สามารถเพิ่มข้อความใหม่ที่ต้องการ โดยการแทนที่ XXXX ใน {LNG_XXXX} เป็นคำที่ต้องการในภาษาอังกฤษ แล้วไปเพิ่มตัวแปรภาษาในระบบภาษาพร้อมคำแปลที่ต้องการได้ หรือ ในกรณีที่เว็บไซต์มีภาษาเดียว (เช่นต้องการแสดงผลในภาษาไทยเท่านั้น) สามารถแทนที่ {LNG_XXXX} ด้วยข้อความภาษาไทยตรงๆเลยก็ได้
  • หลายๆคนมีปัญหาในการค้นหาข้อความภาษา เนื่องจากต้องเปิดดูทีละไฟล์ วิธีที่ง่ายกว่าในการค้นหาข้อความภาษาคือ ทำการค้นหาข้อความทั้งหมดในโค้ดโดยใช้ความสามารถในการค้นหาข้อความทั้งโปรเจ็คด้วย Editor (Editor ส่วนใหญ่มีความสามารถนี้)