[ตอนที่ 6] เวิร์คช้อป CMS อย่างง่าย เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล

ก่อนจะไปต่อ เราจะมาพูดถึงเทคนิคการแสดงผลข้อมูลในลักษณะของลิสต์รายการ ซึ่งสามารถจัดการได้ง่ายๆด้วย View ของคชสาร

ในการแสดงผลลิสต์รายการ จะแบ่งเทมเพลตออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือเทมเพลตหลัก ผมสมมุติให้เทมเพลตหลักมีโค้ดตามนี้
<ul>{LIST}</ul>

จะเห็นว่าเทมเพลตหลักจะประกอบด้วยโค้ดที่เป็นกรอบของลิสต์รายการ (เช่น ul หรือ tag อื่นใดก็ได้) และที่สำคัญต้องมีตัวแปรของเทมเพลต {LIST} และ เทมเพลตอีกอันซึ่งอาจมีเนื้อหาประมาณนี้
<li>ลิสต์รายการที่ {NO}</li>

แนวคิดการใช้งานเทมเพลตของคชสารก็คือ เราจะทำการอ่านข้อมูลออกมา สมมุติว่ามีข้อมูล 10 รายการเป็นตัวเลข no 1 - 10 เราจะเอาข้อมูลที่ได้ใส่ลงใน ลิสต์รายการ โดยการแทนที่ตัวแปร {NO} ด้วยลำดับของข้อมูล no ที่อ่านได้ ซึ่งจะได้เป็นแอเรย์ของ li จำนวน 10 รายการ
เสร็จแล้วนำข้อมูลลิสต์ของ li ที่ได้ใส่ลงในเทมเพลตหลักที่ตำแหน่ง {LIST} ซึ่งจะทำให้ได้โค้ดผลลัพท์สุดท้ายเป็น
<ul>
  <li>ลิสต์รายการที่ 1</li>
  <li>ลิสต์รายการที่ 2</li>
        .....
  <li>ลิสต์รายการที่ 10</li>
</ul>

ซึ่งผลลัพท์สุดท้าย ก็คือลิสต์รายการที่สามารถในไปใช้งานต่อได้นั่นเอง

จากทฤษฎี เราจะมาดูโค้ดหน้า View ของสมุดเยี่ยมกัน
namespace Guestbook\Index;

use \Kotchasan\Http\Request;
use \Kotchasan\Date;
use \Kotchasan\Template;
use \Kotchasan\Antispam;

class View extends \Kotchasan\View
{

  public static function render(Request $request, $index)
  {
    // session
    $request->initSession();
    // โหลด template ของรายการ (item.html)
    $listitem = Template::create('guestbook', '', 'item');
    // วนลูปแทนที่ข้อมูลลงใน template
    foreach ($index->items as $item) {
      $listitem->add(array(
        '/{ID}/' => $item->id,
        '/{DETAIL}/' => nl2br($item->detail),
        '/{NAME}/' => $item->name,
        '/{CREATE}/' => Date::format($item->create_date),
        '/{IP}/' => $item->ip
      ));
    }
    // View
    $view = new static;
    // antispam
    $antispam = new Antispam();
    // ใส่เนื้อหาลงใน View ตามที่กำหนดใน Template
    $view->setContents(array(
      // topic
      '/{TOPIC}/' => 'สมุดเยี่ยม',
      // เนื้อหา
      '/{LIST}/' => $listitem->render(),
      // แบ่งหน้า
      '/{SPLITPAGE}/' => $request->getUri()->pagination($index->totalpage, $index->page),
      // Antispam
      '/{ANTISPAM}/' => $antispam->getId()
    ));
    // โหลด template หน้า main (main.html)
    $template = Template::load('guestbook', '', 'main');
    // คืนค่า
    return $view->renderHTML($template);
  }
}

บรรทัดแรกเลยจะมีการเรียกใช้งาน session ก่อนเนื่องจากในการโพสต์สมุดเยี่ยมจะต้องมีการตรวจสอบ Antispam ด้วย
// session
$request->initSession();
// โหลด template ของรายการ (item.html)
$listitem = Template::create('guestbook', '', 'item');
// วนลูปแทนที่ข้อมูลลงใน template
foreach ($index->items as $item) {
  $listitem->add(array(
    '/{ID}/' => $item->id,
    '/{DETAIL}/' => nl2br($item->detail),
    '/{NAME}/' => $item->name,
    '/{CREATE}/' => Date::format($item->create_date),
    '/{IP}/' => $item->ip
  ));
}

ถัดมาก็จะมีการโหลดเทมเพลตส่วนของรายการสมุดเยี่ยม (item.html) และทำการวนลูปรายการสมุดเยี่ยมจากตัวแปร $index->items ใส่ข้อมูลต่างๆลงในเทมเพลตทีละอันจนครบ

เสร็จแล้วทำการสร้าง View นำข้อมูลที่ได้ใส่ลงในเทมเพลตหลักของสมุดเยี่ยม ไฟล์ main.html
// View
$view = new static;
// antispam
$antispam = new Antispam();
// ใส่เนื้อหาลงใน View ตามที่กำหนดใน Template
$view->setContents(array(
  // topic
  '/{TOPIC}/' => 'สมุดเยี่ยม',
  // เนื้อหา
  '/{LIST}/' => $listitem->render(),
  // แบ่งหน้า
  '/{SPLITPAGE}/' => $request->getUri()->pagination($index->totalpage, $index->page),
  // Antispam
  '/{ANTISPAM}/' => $antispam->getId()
));
// โหลด template หน้า main (main.html)
$template = Template::load('guestbook', '', 'main');
// คืนค่า
return $view->renderHTML($template);

ไฟล์ main.html นอกจากจะมีเทมเพลตส่วนของลิสต์รายการแล้ว ยังมีเทมเพลตส่วนของฟอร์มสำหรับเขียนสมุดเยี่ยมอยู่ด้วย และยังมีส่วนของ Javascript ที่ใช้สำหรับฟอร์มด้วย
ที่ฟอร์มเขียนสมุดเยี่ยมนี้มีการป้องกันการฟลัดข้อมูลด้วยการใช้งาน Antispam
// antispam
$antispam = new Antispam();

โค้ดสำหรับสร้างรหัส Antispam
// Antispam
'/{ANTISPAM}/' => $antispam->getId()

และนำไปใส่ลงในฟอร์มด้วยคำสั่งตามด้านบน
// แบ่งหน้า
'/{SPLITPAGE}/' => $request->getUri()->pagination($index->totalpage, $index->page),

โค้ดด้านบนคือโค้ดสำหรับแสดงตัวแบ่งหน้า ซึ่งจะใช้ข้อมูลที่ได้จาก $index นำมาสร้างตัวแบ่งหน้า
// โหลด template หน้า main (main.html)
$template = Template::load('guestbook', '', 'main');

มีข้อสังเกตุนิดหน่อยของการโหลดเทมเพลตของสมุดเยี่ยม คือมีการระบุตัวแปร guestbook ที่ตัวแปรแรกซึ่งจะสัมพันธ์กันกับไฟล์เทมเพลต เพราะมันคือชื่อโฟลเดอร์หรือโมดูลของเทมเพลตนั่นเอง ดังนั้นในกรณีของไฟล์ main.html จะเก็บอยู่ที่ skin/default/guestbook/main.html และ item จะเก็บไว้ที่ skin/default/guestbook/item.html

ข้อมูลทั้งหมดหลังจากแทนที่ข้อมูลลงในเทมเพลตหมดแล้ว จะถูกส่งกลับไปแสดงผลตามปกติ
0SHAREFacebookLINE it!